วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

พันธุ์กล้วย

พันธุ์กล้วย กล้วยเป็นพืชเมืองร้อน และมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเทศไทยอยู่รวมด้วย ดั้งนั้นในประเทศไทยจึงพบว่ามีกล้วยอยู่หลายพันธุ์ ทั้งกล้วยป่า และกล้วยที่ปลูกตามบ้าน ซึ่งจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2522 - 2525 โดย Silayoi and Babpraserth (1983) ได้ทำการสำรวจกล้วยจาก 39 จังหวัด จากภาคต่าง ๆ โดยเลือกตัวแทนของจังหวัดตามแนวเศรษฐกิจการเกษตร ได้กล้วยทั้งหมด 323 สายพันธุ์ แต่เมื่อนำมาจำแนกชนิดโดยวิธีของ Simmonds & Shepherd (1955) ซึ่งเป็นการให้คะแนน 15 ลักษณะที่เหมือนกล้วยป่า (Musa acuminata) และกล้วยตานี (Musa balbisiana) โดยถือว่าทั้ง 2 ชนิดเป็นบรรพบุรุษของกล้วยปลูก ประกอบกับการนับจำนวนโครโมโซม พบว่ามี 59 สายพันธุ์ หลังจากปี พ.ศ. 2525 ผู้วิจัยยังได้ทำการเก็บรวบรวมกล้วย และทำการจำแนกต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากกล้วยในประเทศไทยแล้วยังได้มีการนำเข้ากล้วยจากต่างประเทศด้วย ดังนั้นกล้วยที่ปลูกกันอยู่จึงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นพันธุ์กล้วยป่าซึ่งอาจจะนำมาปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับมีทั้งหมดประมาณ 23 ชนิด ส่วนกล้วยปลูกมีทั้งหมดประมาณ 70 ชนิด ดังนี้กล้วยป่า 1. กล้วยป่า (Wild Acuminata) มี กล้วยป่ามูเซอร์ กล้วยป่าระยอง กล้วยแข้ กล้วยป่าสงขลา กล้วยทอง 2. กล้วยป่าจากต่างประเทศ มี กล้วยฟลาวา (Pisang flava) กล้วยสีกัน (Pisang segun) และกล้วยป่าอบิสซีเนีย 3. กล้วยตานี (Wild Balbisiana) มี กล้วยตานีเหนือ กล้วยตานีอีสาน กล้วยตานีใต้ กล้วยตานีดำ (นำมาจากประเทศฟิลิปปินส์) 4. กล้วยป่า (Wild Itinerans) มี กล้วยหก กล้วยแดง 5. Wild Rhodochlamys มี กล้วยบัวสีชมพู กล้วยบัวสีส้ม กล้วยรุ่งอรุณ 6. Wild Ensete มี กล้วยผา กล้วยนวล กล้วยนวลแดง 7. Wild Callimusa มี กล้วยรัตกัทลี กล้วยทหารพราน 8. Wild Australimusa มี กล้วยอะบากา กล้วยกินได้ 1. กล้วยกินได้ (Acuminata cultivars) - AA group มี กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมจันทร์ กล้วยทองร่วง กล้วยน้ำนม กล้วยไข่จีน กล้วยไล กล้วยสา กล้วยหอมจำปา กล้วยหอม กล้วยทองกาบดำ กล้วยอัมเพียง กล้วยมานัง กล้วยแดงเล็ก - AAA group มี กล้วยนาก กล้วยครั่ง กล้วยกุ้งเขียว กล้วยหอมเขียวค่อม กล้วยหอมแกรนด์เนน กล้วยหอมวิลเลี่ยมส์ กล้วยหอมโฮชูชู กล้วยหอมเสียนเจนเชียว กล้วยหอมโคคอส กล้วยหอมเขียวไต้หวัน กล้วยหอมอุมาลอก กล้วยหอมฮัมเวย์ กล้วยหอมพจมาน กล้วยหอมทอง กล้วยหอมทองไต้หวัน กล้วยหอมไฮเกท กล้วยคลองจัง กล้วยไข่บอง กล้วยหอมแม๊ว 2. กล้วยกินได้ลูกผสม (Acuminata x Balbisiana) - AB group มี กล้วยเนย์ - AAB group มี กล้วยน้ำฝาด กล้วยนมสวรรค์ กล้วยร้อยหวี กล้วยหวาน กล้วยไข่โบราณ กล้วยทองเดช กล้วยนางนวล กล้วยน้ำ กล้วยกล้าย กล้วยงาช้าง กล้วยนิ้วจรเข้ กล้วยขม กล้วยนมสาว กล้วยคอร์นแพลนเทน - ABB group มี กล้วยเปลือกหนา กล้วยนมหมี กล้วยพญา กล้วยหักมุกขาว กล้วยหักมุกเขียว กล้วยส้ม กล้วยตีบ กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าขาว กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าค่อม กล้วยน้ำว้านวล กล้วยน้ำว้าดำ กล้วยโอกินาวา - ABBB group มี กล้วยเทพรส - AABB group มี กล้วยเงิน 3. กล้วยกินได้ (Balbisiana cultivars) - BBB group มี กล้วยเล็บช้างกุด กล้วยพม่าแหกคุก กล้วยเทพพนม กล้วยหิน กล้วยคาดาบากล้วยพันธุ์ใหม่ ภาควิชาพืชสวนได้ทำการวิจัยเรื่องกล้วยมานาน สำหรับกล้วยไข่ได้ทำการวิจัยเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ตั้งแต่ปี 2534 โดยทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และใช้ทั้งสารเคมี และรังสีแกมมาในการปรับปรุงพันธุ์ โดยไม่ได้มีการผสมพันธุ์ ทั้งนี้เพราะกล้วยไข่ไม่มีเมล็ด ผลการวิจัยพบว่าได้กล้วยไข่ที่กลายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ ดังนี้ 1. กล้วยเบพ (BEP) ได้เริ่มทำการทดลองเมื่อ พ.ศ. 2538 โดยใช้สาร oryzalin กับต้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และปลูกเปรียบเทียบกับต้นปกติเมื่อปี พ.ศ. 2540 พบความผิดปกติ ซึ่งมีลักษณะเตี้ยมาก จึงให้เป็นกล้วยไข่ประดับ และได้ทำการปลูกทดลองดูความคงตัวของพันธุ์ และทำการจดทะเบียบพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2543 2. กล้วยไข่เกษตรศาสตร์บานาน่า ได้มีการทดลองใช้รังสีแกมมากับกล้วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เพื่อการทดลองในเบื้องต้น และต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไข่จากจังหวัดกำแพงเพชร และนำมาฉายรังสีแกมมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ได้นำไปปลูกที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อทดสอบสายพันธุ์ รูปร่าง ลักษณะของผลสด การเจริญเติบโต และคุณภาพของผล ในปี 2544 พบว่ามีพันธุ์ที่กลายไป 5 พันธุ์ จึงให้ชื่อว่า เกษตรศาสตร์บานาน่า หรือ ก.บ. 1, 2, 3, 4 และ 5 (Kasetsart Banana or K.B. 1, 2, 3, 4 and 5) และในปี พ.ศ. 2545 - 2546 ได้ทำการปลูกทั้ง 5 พันธุ์ เปรียบเทียบกับพันธุ์ปกติ ที่สถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ก.บ. 1, 2, 3 และ 5 มีความคงที่ ส่วน ก.บ. 4 ไม่คงที่ และได้ทำการตรวจสอบ DNA ด้วยเทคนิค SRAP พบว่าทุกสายพันธุ์มีความแตกต่าง แสดงให้เห็นว่า กล้วย ก.บ. ทุกสายพันธุ์มีการกลายพันธุ์จริง จึงได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์ ก.บ.1,2,3 และ 5 ไว้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป 3. กล้วยบัวสีส้ม ได้ทำการทดลองในปี พ.ศ. 2543-2545 ใช้รังสีแกมมากับกล้วยบัว ได้ดอกกล้วยบัวที่ต่างไป โดยมีกลีบที่หนาและแข็ง สีสดใส กำลังทำการขึ้นทะเบียนพันธุ์อยู่

การขยายพนธุ์กล้วยไม้

การขยายพันธุ์กล้วยไม้เพื่อประโยชน์หลายประการคือ เพื่อเพิ่มปริมาณกล้วยไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้นานจนเป็นกอใหญ่และมีสภาพทรุดโทรมให้กลับมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และเพื่อเป็นการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ให้ได้กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้น การขยายพันธุ์กล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ซึ่งในแต่ละแบบแต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายและผลที่ได้แตกต่างกัน
การขยายพันธุ์โดยไม่มีการผสมเกสร
หมายถึงการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ที่ไม่ใช่ผลจากการผสมเกสรไปขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้ต้นใหม่ที่มีสายพันธุ์เหมือนต้นพันธุ์เดิมทุกประการ เป็นวิธีที่เหมาะ สำหรับการขยายพันธุ์กล้วยไม้ ต้นที่มีคุณลักษณะดีอยู่แล้ว เช่น มีความสวยงามเป็นพิเศษ หรือมีลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นกล้วยไม้ตัดดอก การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่มีการผสมเกสรแบ่งวิธีการขยายพันธุ์ตามลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ดังนี้
การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทแตกกอ
กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบประเภทแตกกอหรือแบบซิมโพเดียล เช่น หวาย แคทลียา เมื่อหน่อหรือลูกกล้วยใดผลิดอกและต้นเริ่มร่วงโรย หน่อนั้นจะแตกหน่อใหม่ออกมาทดแทนทำให้กอแน่นขึ้น หากปล่อยให้กอแน่นเกินไปกล้วยไม้อาจทรุดโทรมเพราะมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ เมื่อเห็นกอแน่น ควรตัดแยก ไปปลูกใหม่จะได้ประโยชน์ 2 ทาง คือ ได้กล้วยไม้เพิ่มขึ้นและทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามดี การตัดแยกกล้วยไม้ ้ไม่ควรทำในช่วงที่กล้วยไม้พักตัวในช่วงฤดูหนาว ควรทำในช่วงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตดื ีและแตกหน่อใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์คือมีดและปูนแดง สำหรับการขยายพันธุ์สามารถทำได้หลายวิธีคือ
การตัดแยกลำหลัง
เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้ได้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอที่มีลำลูกกล้วย เช่น กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลหวาย สกุลออนซิเดี้ยม เมื่อปลูกเลี้ยงนานจะมีกอขนาดใหญ่ขึ้นและมีลำลูกกล้วยมากขึ้น ถ้าไม่มีการตัดแยกออก จะทำให้ต้นทรุดโทรมและออกดอกน้อย การตัดแยกลำหลังนอกจากจะเป็นการขยายพันธุ์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้น ให้กล้วยไม้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและออกดอกง่ายขึ้นด้วย
การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ เพราะการตัดแยก แต่ละต้นที่ตัดแยก ควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 2 ลำ และควรตรวจดูตาที่โคนลำหลังถ้าตาแห้งตายไปแล้วการตัดแยกจะไม่ได้ผล ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ชนิดใบบางที่คมๆ สอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยแล้วตัดส่วนของเหง้าให้ขาดจากกัน ใช้ปลายมีดแบนๆ ป้ายปูนแดงแล้วทาที่บาดแผลให้ทั่ว เพื่อให้แผลแห้ง และเป็นการป้องกันเชื้อโรค ที่อาจจะ เข้าทำลายทางบาดแผลด้วย เนื่องจากลำหลังเป็นลำแก่ที่อยู่ในระยะฟักตัว ถ้ายกไปปลูกเลยรากแก่อาจจะชำรุดได้ รากใหม่ก็ไม่มีโอกาสเจริญออกมา จะทำให้การแตกหน่อล่าช้าและได้หน่อใหม่ที่ไม่แข็งแรง การตัดแยก เพื่อให้เกิด ลำใหม่เร็วควรทำในช่วงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นกล้วยไม้เริ่มจะเกิดหน่อใหม่หลังจากฟักตัวในช่วงฤดูหนาว หน่อใหม่จะเจริญเติบโตขึ้นมาพร้อมที่จะยกออกไปปลูกได้ในช่วงฤดูฝนพอดี
การตัดแยกลำหน้า
เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอทุกชนิด ลำหน้าเป็นลำกล้วยไม้ที่กำลังเจริญเติบโต และเป็นลำที่จะให้ดอก จึงไม่ค่อยนิยมตัดแยกลำหน้าไปปลูกใหม่ นอกจากมีความจำเป็นในบางกรณี เช่น กล้วยไม้เจริญเติบโตเป็นกอใหญ่จนเต็มล้นกระถางปลูกหรือเครื่องปลูกเน่าเปื่อยผุพัง จำเป็นต้องรื้อ ออกจาก กระถางเก่าทั้งหมดแล้วนำไปตัดแบ่งแยกปลูกใหม่ หรือเป็นการตัดแยกลำหน้า เพื่อจำหน่าย ซึ่งได้ราคาสูง กว่าการจำหน่ายกล้วยไม้ลำหลัง
วิธีการตัดแยกลำหน้า ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการแยกลำหลังไปปลูก คือปล่อยให้ลำหน้าเจริญเต็ม ทีจนถึงสุดขีดแล้วจะแตกหน่อใหม่จากตาจนกระทั่งหน่อที่เกิดใหม่มีรากโผล่ออกมาจึงตัดแยกไปปลูก โดยใช้มีด หรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกัน แล้วแยกไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการ ตัดแยกลำหลัง ที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ ให้แตกหน่อใหม่ก่อนจึงจะยกไปปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะที่สุดในการตัดแยกลำหน้าคือ เมื่อลำหน้าสุดมีราก และรากยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร การนำลำหน้าไปปลูกควรระวังอย่าให้รากอ่อนของลำหน้าสุดบอบช้ำ

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

fgh

klgjdsiohuogjkl'sui[o
sjlkou
lku
gjkloiitjtjiuttjiuijyugjg